เลือก…ฟอนต์ดี มี...แต่รุ่ง
เพราะฟอนต์แต่และฟอนต์สามารถสื่อสารอารมณ์ได้แตกต่างกัน
งานออกแบบแบรนด์ดิ้ง ออกแบบแพคเกจจิ้ง หรืองานออกแบบอื่นๆ เรามักจะนึกถึงภาพประกอบที่ดูน่าสนใจ โครงสร้างของแพคเกจจิ้งที่โดดเด่น หรือสีที่ดูสะดุดตา แต่ทราบมั๊ยครับว่า ถ้าคุณเลือกฟอนต์ให้เหมาะกับสิ่งที่ต้องการจะสื่อ ฟอนต์แต่ละฟอนต์ที่ถูกออกแบบมาสามารถถ่ายทอดอารมณ์ออกมาให้คุณรู้สึกได้หลากหลายอารมณ์มากทีเดียว ถ้าเราเลือกฟอนต์นั้นๆ ได้เหมาะสมกับงาน เหมาะสมกับสินค้าและกลุ่มเป้าหมาย
จะทำให้สามารถสื่อสารได้ดี ได้อรรถรสมากขึ้นอีกเยอะเลย เราลองมาดูกันครับว่าฟอนต์ มีอารมณ์แบบไหนอย่างไรกันบ้าง
1. เรียบง่าย
เรียบง่าย สงบ คือ ฟอนต์ประเภท Sans Serif (ฟอนท์ที่ไม่มีขา) ดูเรียบง่าย นิ่ง ทันสมัยและอ่านง่าย
2. เป็นทางการ
คือ ฟอนต์ประเภท Serif (ฟอนต์ที่มีขา) ดูน่าเชื่อถือ จริงจัง มักจะใช้กับงานที่เป็นทางการ
ideogram recommend
สำหรับการออกแบบ Logo ให้โดดเด่นและน่าสนใจ ในข้อนี้คงต้องพึ่งความสามารถของนักออกแบบที่ดีด้วย ในการนำเสนอลูกเล่นดีไซน์ แทรกหรือเสริมในเรื่องการออกแบบ ให้ logo มีลักษณะโดดเด่น น่าจดจำ
3.แข็งแรง
คือ ฟอนต์ประเภท Bold (ฟอนต์ที่หนามาก) ดูแข็งแรง หนักแน่น และมีความจริงจังร่วมอยู่ด้วย มักจะใช้กับส่วนที่เป็น Head Line หรือ Sub Head Line เพื่อให้เด่นชัดและแบ่งจังหวะของเนื้อหาได้ดี
4.ย้อนยุค
ฟอนต์ประเภท Vintage (ฟอนต์แบบสมัยก่อน) ให้ความรู้สึกเหมือนย้อนยุคหลุดไปในในอดีตที่มีการใช้ฟอนต์ประเภทนี้กันจริงๆ มักใช้กับการออกแบบแพคเกจจิ้งสินค้าประเภทขนม หรือของใช้ ที่มีความร่วมสมัยหรือสื่อถึงสินค้าที่มีมานาน สามารถเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าได้น่าสนใจง่ายๆ กันเลย
5. อ่อนช้อย
ฟอนต์ประเภท Script (ฟอนต์แบบลายมือเขียนปลายตวัด) ให้ความรู้สึกอ้อนช้อย สง่างาม ดูหรูหรามีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน แต่ไม่เป็นทางการนัก
6. สนุกสนาน
ฟอนต์ประเภท Script Hand Writing (ฟอนต์แบบลายมือเขียนแบบสบายๆ) ให้ความรู้สึกสนุกสนานผ่อนคลาย อิสระ ไม่จริงจัง สบายๆ มักใช้กับงานประเภทเมนูอาหาร ออกแบบแพคเกจจิ้งของเล่นเด็ก หรือ การให้ข้อมูลการท่องเที่ยวต่างๆ ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกสนุกสนาน ผ่อนคลายขึ้นมาได้ทันทีเลย
ideogram recommend
แต่การใช้งานได้เอนกประสงค์ ไม่ได้หมายความว่า จะปรับเปลี่ยนได้ทุกเมื่อตามลักษณะการใช้งาน ควรมีข้อมูลหรือคู่มือเกี่ยวกับ Logo ที่ถูกต้อง ดั้งเดิม เพื่อเป็นไกด์ไลน์ขอบเขตในการใช้งาน หรือ CI guideline เพื่อให้การใช้งาน logo คงความเป็นตัวตนของแบรนด์ไว้ ป้องกันไม่ให้ logo ไม่ผิดเพี้ยน หรือผิดรูปแบบไปจากเดิมตามการใช้งานของผู้ใช้
7. โดดเด่น
สะดุดตา คือ ฟอนต์ประเภท Novelty (ฟอนต์มีคาแลคเตอร์ที่โดดเด่น ชัดเจน) ให้ความรู้สึกโดดเด่นเฉพาะทาง เพราะถูกออกแบบมาให้มีคาแลคเตอร์ที่เฉพาะทางมากๆ บางทีอาจมีความเป็นแฟชั่นหรือเทรนด์เข้าไปด้วย ซึ่งต้อง
เลือกใช้ให้เหมาะนะครับ เพราะเทรนด์ก็ย่อมต้องมีระยะเวลาของมัน ถ้าเราไปใช้กับโลโก้ก็อาจไม่เหมาะนะครับ เพราะเทรนด์ผ่านไปแล้วแต่โลโก้เราจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ก็ไม่ควรใช่มั๊ยครับฟอนต์ยังมีอีกมากมายหลากหลายอารมณ์กว่าที่กล่าว ลองสังเกตและเลือกใช้กันให้เหมาะ ฟอนต์ไหนควรเป็น Head Line, Sub Head Line, Body copy, Caption หรือนำไปออกแบบโลโก้ เป็นหน้าเป็นตาของแบรนด์คุณได้เลย ซึ่งถ้าเลือกใช้ให้เหมาะสม เหมาะกับงาน เค้าจะช่วยให้การสื่อสารนั้นๆ สื่อได้ลึกซึ้ง เข้าถึงอารมณ์ได้มากยิ่งขึ้นทีเดียว
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ก็เพื่อจะให้ อ่านง่าย เข้าใจง่าย น่าสนใจ และมีอารมณ์เข้าไปร่วมด้วยในทุกๆ ครั้งที่มีการสื่อสารออกไปสู่กลุ่มเป้าหมายของคุณ เพื่อให้เค้ารับรู้ถึงอารมณ์ที่คุณต้องการสื่อนั้นเองครับ เข้าถึงอารมณ์ได้ง่าย เข้าใจก็ง่าย คุณก็มีโอกาสขายของได้ง่ายขึ้นนะครับ
ออกแบบกับเราดียังไง
– เราสามารถช่วยคุณสร้างโลโก้ที่สะท้อน หรือ สื่อถึงตัวตนของแบรนด์คุณได้
– เราคำนึงเสมอว่า โลโก้นั้นจะอยู่กับสินค้าหรือธุรกิจคุณไปอีกนาน ดังนั้นในการออกแบบเราจึงใช้ประสบการณ์ที่มี มาช่วยในการออกแบบ แนะนำ และเป็นแนวทางสำหรับการตัดสินใจได้
– เรามีทีมงานที่ช่วยแนะนำสำหรับผู้ที่มีสินค้าแต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง
– เราใช้ประสบการณ์ในการทำงานกับแบรนด์ดังแบรนด์ใหญ่ มาเป็นแนวทางให้คุณได้
– มีประสบการณ์ในด้านการออกแบบมากกว่า 20 ปี ขั้นตอนการทำงานที่มีระบบระดับมืออาชีพ
– มีบริการที่หลากหลาย ช่วยต่อยอดในการส่งเสริมการขาย เช่น การออกแบบแพคเกจจิ้ง การออกแบบสื่อโฆษณาอื่นๆ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์
สามารถ เยี่ยมชมพอร์ต เพื่อดูผลงานเพิ่มเติม ได้ที่เมนูด้านล่าง หรือติดต่อสอบถาม, รับคำปรึกษาได้เลย ได้ทาง
email : hello@ideogram-design.com
โทร : 02-635-2991, 062-929-2826
Inbox facebook : m.me/IdeogrambkkDesign
แล้วอย่าลืมติดตามผลงาน เกร็ดความรู้ต่างๆ และบทความดีๆ ของเราผ่านเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียของเรากันนะคะ Click
ดูบทความอื่นๆ เพิ่มเติม คลิก https://www.ideogram-ddesign.com/blog/